หลักสูตรการสอน โรงเรียนสุขฤทัย ชลบุรี จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทย ความเป็นสากล และมีพร้อมกับการศึกษาต่อ ดังนั้นเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสุขฤทัย เป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ และความต้องการของสังคม และชุมชน ทางโรงเรียนจึงดำเนินการจัดหลักสูตรการสอนออกเป็น 2 ระดับ คือ 1 ระดับปฐมวัย 2 ระดับประถมศึกษา หลักสูตรที่ 1. ระดับปฐมวัย (พุทธศักราช 2546 เด็กอายุ 3-6 ปี) เป็นการจัดในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่เด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข หลักการ 1. เป็นการศึกษาให้ครอบคลุมเด็ก ที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี 2. เป็นการพัฒนาเด็กโดยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา 3. เป็นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. เป็นการจัดประสบการณ์ที่ให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข 5. เป็นการพัฒนาเด็กโดยให้ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กอายุ 3-6 ปี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณลักษณะตามวัยดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัย และพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม 2. ใช้กล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน 3. ร่าเริง แจ่มใส และความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น 4. มีคุณธรรม และจริยธรรม มีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบ 5. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับสภาพ และวัย 6. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และความเป็นไทย 8. ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย 9. มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ 10. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ทางโรงเรียนสุขฤทัย ชลบุรี จึงจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายจัดการศึกษาตามแนวข้อกำหนดของชาติเป็นสำคัญ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคม และสติปัญญาควบคู่กันไป โดยเน้นการจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก และความพร้อมที่เป็นไปตามวัย ซึ่งกิจกรรมที่เน้นแบ่งเป็น 6 หลักสำคัญ คือ 1. กิจกรรมเคลื่อนไหว 2. กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ 3. กิจกรรมกลางแจ้ง 4. กิจกรรมสร้างสรรค์ 5. กิจกรรมเสรี 6. กิจกรรมเกมการศึกษา แนวทางจัดประสบการณ์ 1. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง 2. จัดให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 3. ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และเปิดโอกาสให้เด็กริเริ่มกิจกรรมของตนเอง โดยครูเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก 4. จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และมีบรรยากาศที่อบอุ่น เพื่อให้เด็กมีความสุข 5. จัดกิจกรรมในรูปแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงพัฒนาการทุกด้าน 6. จัดประสบการณ์ตรงให้เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีโอกาสสังเกต สำรวจ เล่น ค้นคว้า ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง 7. จัดให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง เด็กกับวัตถุสิ่งของ เด็กกับเด็ก และ เด็กกับผู้ใหญ่ 8. จัดให้มีความสมดุล มีทั้งกิจกรรมให้เด็กริเริ่ม และ ครูริเริ่ม กิจกรรมในห้องเรียน และนอกห้องเรียนกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและสงบ 9. จัดให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ที่หลากหลายทั้งรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ 10. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมากกว่าผลผลิต 11. จัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่น และเอื้อต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 12. จัดกิจกรรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วนรวม รักธรรมชาติ และรักท้องถิ่น 13. จัดให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และบอกผลการปฏิบัติกิจกรรมของตนเอง และผู้อื่นได้ 14. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ 15. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก กิจกรรมประจำวัน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดจากการเรียนรู้ได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การเลือกกิจกรรมที่นำมาจัดในแต่ละวันจึงต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้คือ 1 การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหว และความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆ จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี ฯลฯ 2 การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ และตา จึงจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมส์ต่อภาพ ฝึกช่วยตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม ใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ 3 การส่งเสริมสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว อาจจัดกิจกรรมโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ ใช้การเคลื่อนไหว และจังหวะตามจินตนาการ ให้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อย่างอิสระตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เล่นบทบาทสมมติในมุมเล่นต่างๆ เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นไม้บล็อกฯลฯ 4 การพัฒนาการคิด เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอด สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ แก้ปัญหา จึงจัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญวิทยากรจากภายนอกมาพูดคุยกับเด็ก ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทดลอง ทัศน์ศึกษา ประกอบอาหาร หรือจัดให้เด็กได้เล่นเกมส์การศึกษาที่เหมาะสมกับวัยอย่างหลากหลาย ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการทำกิจกรรมทั้งที่เป็นกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล 5 การส่งเสริมให้เด็กได้เลือกและตัดสินใจ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือกเล่น หรือทำกิจกรรมอย่างเสรีตามความสนใจ และความต้องการของตนเอง จึงจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นตามมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน 6 จัดการประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการเลือกใช้เครื่องมือและการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน นอกจากนี้ โรงเรียนสุขฤทัย ยังจัดกิจกรรมเสริมพิเศษ อาทิ คอมพิวเตอร์ ดนตรี ว่ายน้ำ นาฎศิลป์ ให้นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา โดยบรรจุอยู่ในหลักสูตรและตารางสอนประจำสัปดาห์ ทั้งนี้ทางโรงเรียนสุขฤทัย ได้จัดการเรียนการสอนเป็น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสามัญ และหลักสูตรที่เพิ่มภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นสื่อการสอน ซึ่งทั้งสองหลักสูตรมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมือนกัน คือ ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ยกเว้นหลักสูตรเพิ่มภาษาอังกฤษภาษาจีนเป็นสื่อการสอน จะเน้นการสอนโดยใช้ครูเจ้าของภาษาเป็นหลักและเพิ่มจำนวนเวลาเรียนภาษาจีนเพื่อการพูด โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 และ อนุบาล 3 การพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัย โรงเรียนสุขฤทัย ชลบุรี โรงเรียนสุขฤทัย ชลบุรี จัดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปฐมวัย โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้แนวบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนให้เหมาะสมกับสภาพของชุมชน และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-Centered)ตามหลักการทำงานของสมอง โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัยของ โรงเรียนสุขฤทัย ชลบุรี ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542 2. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรระดับปฐมวัยปี พ.ศ. 2546 3. สำรวจความต้องการ และความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและชุมชน 4. นำปรัชญาของโรงเรียนมาสอดแทรกด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม 5. จัดทำปฏิทินกำหนดการสอนตลอดปีการศึกษาเป็น 2 ภาคเรียน 6. จัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอน 7. มีการวิเคราะห์แผนการสอนก่อนทุกครั้ง 8. ปฏิบัติการสอนแล้วบันทึกพฤติกรรมนักเรียนและผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมทุกครั้ง 9. มีการนิเทศการสอนโดยครูหัวหน้างานปฐมวัย 10. มีการประเมินผล แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ประเมินผลสังเกตการทำกิจกรรมระหว่างเรียน, ประเมินผลโดยการใช้แบบประเมินรายงานพัฒนาภาคเรียนละ 2 ครั้ง 11. เก็บสะสมผลการเรียนในรูปแบบของคะแนน เปอร์เซ็นต์ ระดับผลการเรียน (เกรด) และไม่มีการจัดลำดับที่ แนวการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction) หมายถึง การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้และความหมายหลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน การเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้ ตรงกับความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของตนเองมีโอกาสแสดงออกอย่างอิสระแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นกลุ่มโดยการใช้สิ่งต่าง ๆจากสภาพแวดล้อมจริง เป็นกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q) เพื่อพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขตามสภาพความเป็นอยู่ รักและภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ โรงเรียนสุขฤทัยจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยยึดความสำคัญสูงสุดในกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีพัฒนาการ ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยมีการจัดระบบการเรียนรู้ดังนี้ 1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน 2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ 3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รู้จากประสบการณ์จริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 4. มีการคิดวิเคราะห์ด้านเหตุผล และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามวัย 5. จัดกิจกรรมการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนที่สมดุลกัน 6. ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การทำงานเป็นกลุ่ม 7. จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 8. จัดการเรียนให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่โดยใช้แนวการเรียนรู้แบบพหุปัญญาสอดแทรกในกิจกรรมทุกหน่วยการเรียน 9. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาการผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 10. เสริมการเรียนรู้ด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีน 11. จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยครูต่างชาติเจ้าของภาษา 12. สำหรับหลักสูตรที่เพิ่มภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นสื่อการสอน ทางโรงเรียนจัดการเรียนการสอน คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ50: 30:20 ระหว่างภาษาไทย ต่อภาษาอังกฤษ ต่อ ภาษาจีน ควบคู่กันไป การวัดผล 1 การบ้านประจำวัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวน และฝึกหัดความรับผิดชอบ 2 การสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ตามหน่วยการเรียน เพื่อสังเกตพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา 3 การวัดผลด้านความรู้ ความเข้าใจตามหน่วยการเรียนรู้ การประเมินผล 1 การตรวจการบ้านประจำวัน คุณครูจะตรวจการบ้านเพื่อดูความเข้าใจและความตั้งใจในการทำการบ้าน พร้อมอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่นักเรียนไม่เข้าใจ 2 ประเมินพัฒนาการ โดยใช้ระดับคุณภาพจากการสังเกตพฤติกรรม คุณครูจะจดบันทึกพัฒนาการนักเรียน โดยเป็นการบรรยายพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียน 3 การทดสอบ คุณครูจะมีแบบเตรียมความพร้อมตามรายวิชา (คณิตศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ เชาวน์) โดยประเมินผลออกมาเป็นเกรด (4 3 2 1) โดยแบ่งเป็นพุทธิพิสัยร้อยละ 30 และจิตพิสัยร้อยละ 70 การประเมินผลปลายภาค หรือปลายปี ประเมินเก็บสะสมเช่นเดียวกับการประเมินระหว่างเรียน โดยเก็บสะสมในรูปของคะแนน แบ่งสัดส่วนคะแนนสะสม และคะแนนทดสอบในอัตราสวน 70:30 จากนั้นจึงนำคะแนนทั้งสองมารวมกันเป็น 100 คะแนน การประเมินผลกลางภาคและปลายภาค จัดดำเนินการในแบบเดียวกันจากนั้นนำคะแนนของแต่ละวิชามารวมแล้วคิดเป็นคะแนน ร้อยละ (จะไม่มีการจัดลำดับที่ในการสอบแต่ละครั้ง เพื่อเน้นศักยภาพของนักเรียนรายบุคคล มิใช่เป็นการเปรียบเทียบ) หลักสูตรที่ 2. ระดับประถมศึกษา (พุทธศักราช 2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติมีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบนอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ จุดหมาย 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆอย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ มาตรฐานการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์ 4. สังคมศึกษา 5. ศาสนา และ วัฒนธรรม 6. สุขศึกษา และ พลศึกษา 7. ศิลปะ 8. การงานอาชีพ และ เทคโนโลยี 9. ภาษาต่างประเทศ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ ทางโรงเรียนสุขฤทัยจึงจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551ที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภา ผู้เรียนด้านความรู้ เกิดทักษะ มีความคิดที่เป็นกระบวนการชัดเจน มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมที่ดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยการจัดการเรียนการสอนเป็น 8 สาระการเรียนรู้ คือ 1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์ 4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 8. ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านทางกิจกรรมต่าง ๆ และสอนเพิ่มเติมในรายวิชา เช่น ภาษาอังกฤษภาษาจีน สอนซ่อมเสริม ชุมนุม การแนะแนว เป็นต้น โดยสาระการเรียนรู้ที่จัดขึ้นนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนสร้างพื้นฐานทางความคิด พื้นฐานความเป็นมนุษย์ และการทำงานอย่างสร้างสรรค์ โดยเปิดสอน 2 หลักสูตรคือ 1. Me- C Program(Math English and Chinese Program) 2. CEC Program (Chinese English Creative Thinking) 1. หลักสูตร Me- C Program(Math English and Chinese Program) เพื่อเสริมทักษะด้าน กระบวนการคิดด้วยวิชาคณิตศาสตร์แบบญี่ปุ่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีนโดยมีจุดเน้นดังนี้ 1. Mathematices พัฒนาระบบการคิดของนักเรียนผ่านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบญี่ปุ่น 2. English เน้นฝึก 4 ทักษะคือ การฟัง-นร.ฝึกกับครูเจ้าของภาษา, การพูด-นร.โต้ตอบกับครูเจ้าของภาษา, การอ่าน-นร.รู้หลักการอ่านตามโฟนิก และ การเขียน-นร.เขียนคำศัพท์ Esay อย่างง่าย 3. Chineses เน้นการรับ-ส่งสารพื้นฐาน โดย การฟัง-พูด กับครูคนจีนโดยตรง, การอ่าน- รู้หลักการอ่านระบบพินอิ, การเขียน- ตามหลักลำดับขีดของตัวหนังสือจีนพื้นฐานโดยเพิ่มเวลาการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาจีน สัปดาห์ละ 5-6 คาบ โดยครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา และเสริมพิเศษด้วยครูไทยที่ชำนาญด้านภาษาอีก 1 คาบ ซึ่งลักษณะการเรียนจะสอนด้วยภาษาไทยในแต่ละสาระการเรียนรู้ จึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับบุตรหลานที่ผู้ปกครองต้องการส่งเสริมให้ได้ศึกษาต่อระดับมัธยมสูงขึ้นไป 2. หลักสูตร CEC Program (Chinese English Creative Thinking) 1. Chinese จัดการเรียนการสอนภาษาจีน เน้นทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน โดยครูเจ้าของภาษา 2. English จัดการเรียนการสอนตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลาง 2551 โดยครูเจ้าของภาษา 3. Creative Thinking กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
Close Menu